การอัดน้ำยาหรือการอาบน้ำยาไม้ด้วยกำลังอัด การอาบน้ำยาไม้ด้วยกำลังอัดหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าการอัดน้ำยาไม้ เป็นการอาบน้ำยาโดยใช้เครื่องจักรภายในถังรูปกระบอก (Cylinder) ที่ มีฝาปิดเปิดได้ สามารถต้านทานต่อกำลังอัด (Pressure) ได้สูง ซึ่งเรียกถึงนี้ว่า ถังอัดน้ำยา (Impregnating Cylinder or Tank) ถังอัดน้ำยาจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 1.8 - 2.7 เมตร ยาวตั้งแต่ 4.5 เมตรขึ้นไป นอกจากนี้ก็ประกอบด้วย
- ถังน้ำยา (Storage and measuring tank) ที่สามารถอ่านปริมาณของน้ำยาภายในถังได้
- เครื่องอัด (Pressure Pump) ซึ่งเป็นเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) หรือเครื่องอัดน้ำยา (Hydraulic Pump)
- เครื่องสุญญากาศ (Vacuum Pump) (บางทีก็เป็นเครื่องเดียวกันกับเครื่องอัด แต่ทำงานได้สองอย่าง) - เตาต้มน้ำนำสตีม (Steam Boiler) (อาจจะไม่มีก็ได้)
ภาพการนำไม้เข้าเครื่องอัดน้ำยา
- รถบรรทุกไม้ขนาดเล็กเข็นสี่ล้อและมีรางสำหรับวิ่งแผ่นเข้าถังอัดน้ำยาจำนวนรถย่อมแล้ว แต่ความยาวของถังอัดน้ำยา
การทำงานของเครื่องอัดน้ำยา
1) นำไม้เข้าสู่ถังกระบอกอัดน้ำยา (Cylinder)
2) ใช้เครื่องสุญญากาศ (Vacuum Pump) ดูดอากาศออกจากถัง
กระบอกอัดน้ำจุดประสงค์เพื่อจะดูดน้ำออกจากเซลล์ของไม้ และเติมน้ำยาที่มีส่วนผสมของสารเคมีเข้าสู่กระบอกอัดน้ำยาให้เต็ม
3) ใช้เครื่องอัด (Pressure Pump) ทำการอัดน้ำยาเข้าสู่เนื้อไม้ให้ถึงเซลล์ของไม้โดยใช้แรงอัดที่ถูกกำหนดขึ้นตามความต้องการ
4) ปล่อยน้ำยาออกจากกระบอกอัดน้ำยาและมีการดูดอากาศออกด้วยแรงดูดอากาศที่ต่ำ
5) ใช้แรงดันอัดอากาศจากภายนอกเข้าสู่เนื้อไม้
ภาพจำลองเครื่องอัดน้ำยาไม้ให้มีความคงทนและปราศจากศัตรูไม้
ทำไมไม้ที่อัดน้ำยาถึงมีสีเขียว
ไม้ที่ถูกอัดน้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเนื่องจากน้ำยาที่อัดสู่ไม้นั้นส่วนใหญ่มีส่วนผสมของทองแดงหรือ Copper อยู่ เมื่อไม้ที่ถูกอัดน้ำยาแห้งและสัมผัสถูกแสงพ้นสีม่วงหรือ (Ultraviolet rays) แล้วแสงจะทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยการจับไนโตรเจนในอากาศให้มารวมกับธาตุอื่นมา ผูกติดกับไม้จึงทำให้ไม้เปลี่ยนเป็นสีเขียว
ภาพไม้ที่ผ่านการอัดน้ำยาเรียบร้อยแล้ว