ตามธรรมชาติ ไม้ที่ยังยืนต้นอยู่ จะมีน้ำอยู่ในเซลล์เพื่อหล่อเลี้ยงต้นไม้ ซึ่งน้ำหนักของน้ำในเซลล์เหล่านี้ อาจมากกว่าน้ำหนักของตัวเซลล์ไม้ด้วยซ้ำ หลังจากมีการตัดไม้มาใช้งาน ไม้จะเริ่มสูญเสียน้ำออกมาจากเซลล์ โดยจะมีการคายน้ำออกมาอย่างรวดเร็วในช่วง แรกๆ และค่อยๆ ลด อัตราการคายน้ำลงซึ่งหากปล่อยให้ไม้แห้งเองตามธรรมชาติ อาจต้องใช้เวลานานมากกว่าจะนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ไม้ ซึ่งการหดตัวนี้จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อไม้มีความชื้นประมาณ 25-30% และจะยังคงหดตัวเรื่อยไปจนไม้ไม่มีความชื้นในเนื้อไม้เลย (ความชื้น=0%)
ดังนั้นในอุตสาหกรรมไม้ที่ได้มาตรฐานจึงนิยมการนำไม้มาอบเพื่อ
1. ให้ได้ไม้ที่มีความชื้นใกล้เคียงกันที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการหดตัวที่ไม่เท่ากัน
2. เพื่อประหยัดเวลาในการปล่อยให้ไม้แห้งลงเองตามธรรมชาติ
3. เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความสวยงามในขั้นตอนการทำสี
ปัญหา ของความชื้นในผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่นอกเหนือจากการประกอบหรือขึ้นรูปจึงเกิด ขึ้นในระหว่างขั้นตอนการอบไม้นี่เอง การอบไม้ที่ไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ไม้มีลักษณะแข็งนอกหรือแข็งใน หากเปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนการย่างเนื้อที่สุกแต่ข้างนอก ดังนั้นในเนื้อไม้จะยังมีความเค้น (Stress) อยู่ เมื่อนำไปประกอบหรือผลิตก็ย่อมเกิดปัญหาต่อผลิตภัณฑ์ไม้นั้นๆ โดยเฉพาะพื้นไม้หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับอากาศเช่นเฟอร์นิเจอร์สนาม เป็นต้น
ดัง นั้น หากต้องการผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้มาตรฐาน ควรสอบถามจากผู้ผลิตหรือจำหน่ายเกี่ยวกับขั้นตอนที่ใช้ในการอบไม้ และหากเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงการยอมจ่ายแพงกว่าอาจคุ้มค่ากว่าการ เลือกโดยใช้ราคาหรือรูปลักษณ์อย่างเดียวในการตัดสินใจ
คุณสมบัติของยารักษาเนื้อไม้
1.ปลอดภัย หรือเป็นอันตราบต่อผู้ใช้น้อยทีสุด
2.มีประสิทธิภาพ ต้องเป็นพิษกับตัวการทำลายไม้
3.คงทน อยู่ในเนื้อไม้ได้นาน
4.ค่าใช้จ่ายไม่สูง คุ้มกับความต้องการรักษาเนื้อไม้
กรรมวิธีอาบน้ำยาไม้
1.วิธีใช้แรงอัด คือการอัดโดยใช้ถังอัด แบ่งออกเป็น
-กรรมวิธีอัดเต็มเซลล์ คือมีการทำสูญกาศ (-0.84 bar) ร่วมกับการอัดแรงดัน (150-200 psi)
-กรรมวิธีอัดเซลล์ว่าง คือทำการอัดแรงดันอย่างเดียว (ใช้ลมอัด 60 psi และอัดน้ำยาที่ 150-200 psi)
-กรรมวิธีใช้แรงดันสลับ คือทำการใช้แรงอัดสลับกับสูญกาศหลายๆครั้ง
-กรรมวิธีใช้สูญกาศซ้อน คล้ายกับวิธีอัดเต็มเซลล์ แต่ใช้แรงดันต่ำกว่า
2.ไม่ใช้แรงอัด ได้แก่วิธี ทา พ่น จุ่ม แช่