อัตราการแปรรูปไม้ (Lumber recovery)
อัตราการแปรรูปไม้ หมายถึง สัดส่วนของปริมาตร ไม้แผ่นที่ได้จากแปรรูปต่อปริมาตร ของไม้ท่อนที่เข้าแปรรูป คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือ เขียนเป็นสูตรได้ ดังนี้คือ
อัตราการแปรรูปไม้ = ปริมาตรไม้แปรรูป X 100 % ปริมาตรไม้ท่อนที่เลื่อย
โรง งานแปรรูปไม้โดยทั่วไป นิยมซื้อไม้ท่อนหน้าโรงงาน เป็นหน่วยน้ำหนักกิโลกรัมหรือเป็นตัน (1,000 กก.) บางแห่งไม่มีเครื่องชั่งรับซื้อ เป็นหน่วยปริมาตร โดยใช้การกองไม้ท่อนให้ได้ความกว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร ยาว 1 เมตร มักเรียกเป็นหลา (1 ลูกบาศก์เมตร) โดยคิดเทียบน้ำหนักไม้ท่อน 1 ตันมีปริมาตร 1.30 ลบ.ม.
การตรวจสอบคุณภาพไม้ยางพารา
ไม้ ยางพาราแปรรูปที่ผ่านกรรมวิธีรักษาเนื้อไม้ เมื่อนำไม้มาไสหน้าเรียบร้อยแล้ว ก่อนนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพไม้ เพื่อตรวจสอบว่า น้ำยาเคมีที่อัดซึมเข้าไปในเนื้อไม้ มากน้อยเพียงใด จำเป็นต้องตรวจสอบ ไม้ทุกเตาอบ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างด้วย การเลือกหยิบมาตรวจ 2-3 ชิ้น (ในแต่ละมุมของเตาอบ) เพื่อตรวจดูว่าน้ำยาเคมี ที่อัดเข้าไปในเนื้อไม้ยางพารา ที่อบแห้งแล้ว น้ำยาซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อไม้มาก หรือน้อย เพียงพอที่จะป้องกันเชื้อรา และแมลงทำลายเนื้อไม้ได้ดี พอตามความต้องการ หรือไม่ มีวิธีผสมสารเคมีที่ใช้ตรวจสอบ คือ
สารเคมีที่ใช้กันเป็นส่วนมากมี ดังนี้
😀 ผงโครมอาซุรอล เอส (Chrome Azurol S Powder) 0.5 กรัม
😀 แอนไฮดรัส โซเดียม อาซีเตท (Anhydrous Sodium Acetate) 0.5 กรัม
😀 น้ำกลั่นบริสุทธิ์ (Distilled Water) 100 มิลลิเมตร
นำ สารเคมีทั้ง 3 ผสมในขวดที่มีฝาปิดมิดชืด เมื่อต้องการใช้น้ำยาเคมีที่ ผสมใช้พู่กันจุ่มน้ำยา ดังกล่าวทาที่หัวไม้ หรือไสไม้ก่อน แล้วทาที่บริเวณใด ของไม้ก็ได้ (เหตุที่ให้ทาหัวไม้ เพราะเมื่อตัดหัวไม้ทิ้ง ไม้ท่อนนั้นยังนำมาทำประโยชน์ อย่างอื่นได้) เมื่อทาน้ำยา ทดสอบบริเวณ ที่ต้องการ ปล่อยไม้ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที สังเกตไม้ที่ทาน้ำยาทดสอบ จะเห็นบริเวณที่ทาน้ำยา ทดสอบค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีม่วงยิ่งเป็นสีม่วงเข้มมาก เท่าใด หมายถึง น้ำยาเคมีที่เราอัดเข้าไปในเนื้อไม้ เพื่อป้องกันเชื้อรา และแมลงที่จะทำลายเนื้อไม้ ในช่วงกรรมวิธีรักษาเนื้อไม้นั้น ได้ซึมเข้าไปในเนื้อไม้ มากเท่านั้น
ข้อควรระวัง น้ำยาที่ใช้ในการทดสอบ ไม้ยางพารา ควรผสมใช้ วันต่อวัน หรือ ผสมใช้เป็นครั้งคราว ให้ผลใน การทดสอบดีกว่า
การทดสอบความชื้นของไม้
การทดสอบความชื้นของไม้ จำเป็นมาก เพราะไม้ยางพาราเป็นไม้ ที่สามารถดูดซึมความชื้นในอากาศ ได้ดี ต้อง ดูแลไม้ยางพาราที่อบแห้งแล้ว เป็นอย่างดี โดยวางไว้ในที่ที่ฝนสาดไม่ถึง ไม้ยางพารา ที่นำออกจากเตาอบ ทุกโรงงาน ถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน คือ ความชื้นอยู่ที่ 8-10 % เมื่อไม้ออกจากเตาอบมาอยู่ใน ระดับอากาศท้องถิ่น การดูดซึมความชื้น จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ในไม้ตามภาวะของอากาศ ภาคตะวันออก อากาศมีความชื้นเฉลี่ย 11-14 % ในฤดูฝนอาจถึง 15 %
เครื่องมือ ที่ใช้วัดความชื้นในไม้ เท่าที่ศึกษาพบว่า ทางภาคตะวันออก ใช้เครื่องมือ 3 ชนิด คือ
😉 เครื่องวัดความชื้นชนิดที่ใช้ตะปูตัวเดียว วิธี การวัด ตอกตะปู 1 ตัว ลงไปใน เนื้อไม้ ความชื้นที่มีอยู่ในไม้ จะผ่านตะปูเข้าไปที่มาตรวัดความชื้น เข็มจะเคลื่อน ไปตามตัวเลขบอกระดับความชื้นในไม้
😉 เครื่องวัดความชื้นชนิดที่ใช้ตะปู 2 ตัว วิธีการวัด ตอกตะปู 2 ตัว ลงไปในเนื้อไม้ ความชื้นในไม้จะผ่านตะปูทั้ง 2 ตัว เข้าไปในเครื่องวัด เพื่อบอกตัวเลขระดับความชื้น เช่นเดียวกับ เครื่องวัดแบบตะปูตัวเดียว
😉 เครื่องวัดความชื้นแบบดิจิตอล วิธีการวัด วัดได้เฉพาะไม้ที่ไสเรียบแล้ว ใช้เครื่องทาบลง ไปบนผิวหน้าไม้ ที่จะวัด กดให้แนบสนิทกับไม้ ตัวเลขบนเครื่องวัดจะขึ้น - ลง อยู่ประมาณ 1 นาที จึงหยุดนิ่งแสดงถึงระดับความชื้นในไม้
ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา
การจำแนกผลิตภัณฑ์ การนำไม้ยางพารามาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านปริมาณ และ ความหลากหลาย ของผลิตภัณฑ์ ซึ่ง ตลาดต่างประเทศให้การยอมรับ เช่น
1. เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา | |
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ | |
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ | |
2.2 กรอบรูปไม้ | |
2.3 รูปแกะสลัก และเครื่องประดับทำด้วยไม้ | |
2.4 วัสดุก่อสร้างทำด้วยไม้ | |
ไม้ปาร์เกต์ ไม้พื้น (Flooring) | |
ไม้เสา เช่น ไม้นั่งร้าน และไม้ค้ำยันสำหรับการก่อสร้าง | |
3. ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น | |
3.1 ไม้แปรรูปเป็นแผ่นหนาเกิน 6 มม. | |
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ | |
3.3 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นอื่นๆ | |
4. ของเล่นไม้ประเภทประเทืองปัญญา (Education Toys) | |
5. เชื้อเพลิง ได้แก่ ฟืนและถ่าน | |
6. เยื่อกระดาษ (ซึ่งปัจจุบันได้ทดลองผลิตแต่ไม่มากนัก เนื่องจากปัญหาด้านการผลิต | |
เนื่องจากไม้ยางพารายังมีน้ำยาง ทำให้กระดาษเกิดจุดด่างๆ |