FSC (Forest Stewardship Council)
เป็นองค์กรเอกชนภายใต้ความร่วม-มือ ของกลุ่มต่างๆจากทั่วโลก อาทิ กลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม ผู้ค้าไม้ ผู้ผลิตสินค้าจากไม้ และองค์กรผู้ให้การรับรองไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ เพื่อจัดทำระบบการให้การรับรองไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซึ่งเป็นการรับประกันว่า ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการประทับเครื่องหมาย FSC เป็นไม้และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติหรือป่าปลูกที่มีการจัดการป่าอย่างถูกต้องตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คือมีการปลูกไม้แบบยั่งยืน
ตัวอย่างใบรับรองFSC
การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification) เป็นเครื่องมือหรือวิธีการใหม่ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อวงการป่าไม้ทั่วโลก โดยการใช้การตลาดเป็นข้อกำหนดในการจูงใจให้ปรับปรุงวิธีการจัดการป่าไม้ โดยวิธีการที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการชักจูงให้กระทำตามโดยมิใช่บังคับโดยกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ อย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต และประการสำคัญวิธีการนี้สามารถช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ (Stake ? holders) หันหน้าเข้าหากันเพื่อที่จะเดินไปตามหลักการของการพัฒนาแบบยั่งยืน การรับรองป่าไม้ (F.C) ได้มีการพัฒนาต่อจากการประชุม UNCED (United Nation Conference on Environment and Development) ที่เมือง Rio de Janeiro, ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 3 ? 14 มิถุนายน ปี 1992 ซึ่งมีข้อสรุปร่วมกันที่จะให้ความสนใจ 3 ประการหลัก คือ 1. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological Diversity) 2. การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ (Climate Change) 3. Combat Desertificationและได้มีการกำหนดหลักการป่าไม้ขึ้นมา (Forest Principles) สำหรับเป็นหลักในการนำไปปฏิบัติทั่วโลก และจากการประชุมการป่าไม้ของทวีปยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ในปี 1993 ได้มีการกำหนดเรื่องหลักเกณฑ์การจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนขึ้นมา โดยจะต้องมีการดำเนินการอย่างมีมาตรฐาน และในการนำสินค้าออกจากป่าก็ควรจะต้องดำเนินการในลักษณะการจัดการป่าไม้แบบ ยั่งยืน รวมทั้งมีแนวความคิด เรื่องการติดฉลากรับรองสินค้าจากไม้ (Labelling) และในปี 2000 ประเทศสมาชิกของ ITTO (International Tropical Timber Organization) ได้มีการตกลงกันว่าให้ประเทศสมาชิกเสนอแนวทางในการดำเนินการกำหนดหลักการ จัดการป่าไม้แบบยั่งยืน เพื่อจะได้ใช้ในการปฏิบัติการต่อไ |
จากมุมมองความต้องการที่จะจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (Sustainable Forest Management) ได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทำให้องค์กรเอกชนต่างๆ ที่ไม่สามารถไปบอกกล่าวให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ดำเนินการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน ได้รวมตัวกันชักชวนให้ผู้บริโภค เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษที่มาจากป่าไม้ที่มีการจัดการแบบยั่งยืน ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้ผลิตเริ่มหันมาสนใจต่อทรัพยากรมากขึ้น จึงได้เกิดมิติใหม่ในวงการป่าไม้ของโลก คือ การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification) เพื่อป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้ทั่วโลกเพื่อขจัดความสับสนในหมู่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และหาข้อยุติเรื่อง F.C. จึงได้เกิดมีการรวมตัวกันระหว่างตัวแทนองค์กร สิ่งแวดล้อม นักวิชาการป่าไม้ ผู้ค้าไม้ องค์กรชุมชนท้องถิ่น สมาคมป่าชุมชน และสถาบันรับประกันผลผลิตป่าไม้ ร่วมกันจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า Forest Stewardship Council หรือ FSC ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนการจัดการป่าไม้ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งผลตอบแทนที่ดีต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม (Environment, Economic and Social) โดยเน้นถึงการจัดการป่าไม้ที่ดีและมีเป้าหมายที่จะประเมินและมีการแต่งตั้ง