การอาบน้ำยาไม้อย่างง่าย

โดย ผศ.ทรงกลด จารุสมบัติ

การอาบน้ำยาไม้อย่างง่าย

 

เป็นกรรมวิธีอาบน้ำยาไม้โดยไม่ใช้ กำลังอัด ซึ่งมีวิธีดำเนินการอยู่หลายวิธี ที่รู้จักและใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่

1.1 การทาหรือพ่น (Brushing or Spraying) เป็น การใช้น้ำยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ทาสีหรือพ่นสีลงบนผิวไม้ที่จะอาบน้ำยานั้น น้ำยาจะซึมเข้าไปในไม้ได้บ้างโดยทางพอร์ จะเป็นปริมาณมากน้อยเพียงใดย่อมแล้วแต่ชนิดของไม้ที่อาบน้ำยาที่ใช้ และการดำเนินงานส่วนมากมักใช้น้ำยาพวกน้ำมัน หรือเกลือเคมีละลายใรสารละลายอื่น เพราะติดผิวไม้ได้ดีกว่าพวกละลายในน้ำ ถ้าต้องการให้น้ำยาซึมเข้าไปในไม้มากๆ ต้องทำซ้ำหลายๆ ก็ควรต้มน้ำยาให้ร้อนเสียก่อน ไม้ที่นำมาอาบน้ำยาโดยวิธีนี้ควรเป็นไม้ที่แห้งดีแล้วมีความชื้นในไม้ไม่ เกิน 12%

 
 
 
 
 
 
 

 

ภาพแสดงการทา หรือพ่นเพื่ออาบน้ำยาไม้

1.2 การจุ่มไม้ในน้ำยา (Dipping) เป็น การนำไม้มาจุ่มหรือชุบน้ำยาป้องกันรักษาเนื้อไม้เป็นเวลานานประมาณ 2-3 นาที การอาบน้ำยาไม้แบบนี้ใช้สำหรับไม้ที่จะใช้งานชั่วคราว หรือไม้ที่ใช้งานในร่มที่ต้องการทาสี หรือน้ำมันชักเงาทับอีกครั้งหนึ่ง ไม้ที่จะอาบน้ำยาต้องเป็นไม้ที่แห้งดีแล้วเช่นเดียวกับวิธีแรกแต่วิธีน้ำยา จะซึมเข้าไปในเนื้อได้ดีกว่า ถ้าใช้น้ำยาร้อนก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามไม่เหมาะสมสำหรับไม้ที่จะใช้ในท้องที่ที่อันตรายจากพวกเชื้อรา และแมลงอย่างรุนแรง หรือได้รับรับแรงกระทบกระแทกเสียดสีมากๆ ไม้ที่จุ่มน้ำยาอย่างดีแล้วจะใช้ได้นานกว่าธรรมชาติราว 2-4 ปี

1.3 การแช่ (Steeping) ใช้ ได้ทั้งไม้และไม้สด แต่ไม้สดจะต้องใช้เวลาในการชานานกว่าไม้ที่แห้งดีแล้ว การชาไม้ในน้ำยาอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง หรือวัน หรืออาจเป็นสัปดาห์ การแช่ไม้สดจะใช้แช่เฉพาะในน้ำยาพวกเกลือเคมีละลายในน้ำเท่านั้นและน้ำยาที่ ใช้ก็จะต้องมีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำยาที่จะใช้กับไม้ที่ได้ผึ่งแห้งดีแล้ว ส่วนไม้แห้งจะใช้น้ำยาประเภทไหนก็ได้ แล้วแต่ความต้องการและความเหมาะสม การแช่ไม้ในน้ำยา น้ำยาจะซึมเช้าไปในไม้ได้ดี และเร็วมากในระยะแรกๆ ซึ่งอาจจะเป็นระหว่าง 3-6 ชั่วโมงแรก หรือ 2-3 วันแรก ต่อจากนั้นจะลดลงเรื่อยๆ การแช่นี้ถ้าในน้ำยาพวกน้ำมันที่ไม่ได้ต้มเราเรียกว่าวิธี Clod Soaking

 

ภาพแสดงการตากไม้ให้แห้งจากการแช่

1.4 การต้มในน้ำยาร้อนและแช่น้ำยาเย็น (Hot and cold Bath) วิธีนี้มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ เช่น Hot and Cold Open Tank, Thermal Process ,Open Tank Process เป็น การต้มไม้ในถังเปิดที่บรรจุน้ำยาเรียบร้อยแล้วให้ร้อนเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้ เย็นจนถึงอุณหภูมิปกติ หรือนำเอาไม้ที่ต้มนั้นไปแช่ในน้ำยาที่อุณหภูมิปกติในถังอีกใบหนึ่ง ระยะเวลาที่ใช้ในการต้มและแช่ในน้ำยาเย็นนี้ประมาณ 1-12 ชั่วโมง และแช่น้ำเย็นไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง น้ำยาที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้พวกน้ำมัน เช่น ครีโอโสต เพราะสามารถต้มได้ที่อุณหภูมิถึง 100ซ. ส่วนน้ำยาพวกเกลือเคมีละลายในน้ำไม่ค่อยนิยมใช้เพราะถ้าต้มที่อุณหภูมิเกิน 600 ซ. จะทำให้ตัวยาบางชนิดในน้ำยาละลายตัวหรือตกตะกอน

 

ภาพแสดงการต้มในน้ำยาร้อนและแช่น้ำยาเย็น

1.5 กรรมวิธีบูเชอรี่ (Boucherie Process) กรรมวิธี นี้เรียกตามชื่อของ ดร. บูเชอรี่ ชาวฝรั่งเศส?ซึ่งเป็นผู้คิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2381 เป็นการอาบน้ำยาไม้ท่อนกลมทั้งเปลือกที่ตัดฟันลงมาใหม่ๆ อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วยถุงหรือถังบรรจุน้ำยาท่อปล่อยน้ำยา สายยาง และที่สำหรับสวมเข้ากับโคนท่อนไม้ (Cap) น้ำยาที่ใช้ต้องเป็น ยาประเภทเกลือเคมีละลายในน้ำเท่านั้น วิธีการโดยตั้งถังบรรจุน้ำยาให้สูงจาก พื้นดินประมาณ 5 เมตร แล้วปล่อยน้ำยาลงมาตามท่อมายัง Cap ที่สวมเข้ากับหัวท่อนไม้ด้านโคน โดยวางไม้ให้ด้านโคนสูงกว่าด้านปลายไม้เล็กน้อย?อาศัยน้ำหนักของน้ำยาเป็น กำลังช่วยดันน้ำยาผ่านท่อนไม้ โดยไปแทนที่น้ำเลี้ยงไม้ท่อนที่มาอาบโดยวิธีนี้ควรมีความยาวประมาณ 1.5-2 เมตร ถ้ามีความยาวมากอาจต้องใช้แรงดันช่วงอัดดันน้ำยา

กรรมวิธีนี้ถ้าใช้ยางในรถยนต์เราเรียกว่า Tire-Tube Process หรือ Capping Process โดยใช้ยางในของรถตัดครึ่งสวมเข้ากับโคนของท่อนไม้กลมทั้งเปลือก กรอกน้ำยา แล้วยกท่อนไม้และท่อยางในรถให้สูงขึ้น โดยให้ท่อนไม้ทำมุมประมาณ 45 องศากับพื้นดิน

 

ภาพแสดงการอาบน้ำยาไม้ด้วยกรรมวิธีบูเชอรี่

น้ำยาประเภทเกลือเคมีละลายในน้ำที่ใช้ควรมีสีมองเห็นได้ง่าย เพื่อให้ทราบได้ว่าการอาบน้ำยานั้นเพียงพอแล้วหรือยัง โดยสังเกตุดูน้ำยาที่หยดออกมาทางปลายท่อนไม้

Pages

Leave a Reply

Scroll to Top